อยากมีรถต้องรู้! เปิดค่าใช้จ่ายคนมีรถ 1 ปี หมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
อยากมีรถต้องรู้! เปิดค่าใช้จ่ายคนมีรถ 1 ปี หมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

อยากมีรถต้องรู้! เปิดค่าใช้จ่ายคนมีรถ 1 ปี หมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

รู้หรือไม่? 1 ปี ของคนมีรถ หมดเงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

คนมีรถคงเข้าใจกันดีว่า เมื่อซื้อรถสักคันแล้ว ค่าใช้จ่ายจะยังไม่จบแค่วันที่ขับรถออกจากศูนย์ เพราะในทุกๆ ปีจะมีปัจจัยหลายๆ อย่าง ที่ทำให้เจ้าของรถจำเป็นต้องใช้เงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ค่าดูแลสภาพรถ ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนงวดรถ ค่าประกันภัย ค่าภาษี และ พ.ร.บ. หรือค่าจอดรถและค่าทางด่วน

ดังนั้น ผู้ขับขี่ทุกคนต้องวางแผนอย่างรัดกุม เพื่อให้รายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนอยู่ในสภาพคล่อง ไม่ให้เงินที่ดูแลรถกระทบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆ กระทบเงินที่ต้องใช้เกี่ยวกับรถ fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จึงอยากให้คนมีรถวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สภาพการเงินหลังซื้อรถราบรื่น วันนี้จึงชวนมาเช็กลิสต์กันว่าเมื่อมีรถเป็นของตัวเอง 1 คัน ภายใน 1 ปีจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

1. ค่าผ่อนรถยนต์ และดอกเบี้ย
หลายคนเลือกซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อน แบ่งชำระเป็นงวดๆ เพราะรถยนต์เป็นทรัพย์สินมูลค่าสูง การควักเงินก้อนใช้ซื้อรถในครั้งเดียว อาจไม่สะดวกต่อใครหลายคน การผ่อนชำระรถยนต์มีการคำนวณดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เงินต้นลด แต่ดอกเบี้ยไม่ลดตาม ต้องชำระค่าผ่อนรถจำนวนเต็มให้ตรงกำหนดทุกงวด หากไม่ชำระและมียอดค้างหลาย ๆ งวด อาจถูกยึดรถคันนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

2. ค่าน้ำมัน และ ค่าไฟฟ้า
เงินที่ใช้ไปกับการเติมน้ำมันถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำสำหรับคนมีรถ ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันไม่มีทีท่าว่าจะถูกลง ทำให้หลายคนมองหาทางเลือกใหม่อย่าง รถยนต์ไฟฟ้าที่มีค่าเติมพลังงานราคาถูกกว่า แต่เจ้าของรถยนต์เติมน้ำมันไม่ต้องกังวลไป เพราะสามารถแบ่งเบาภาระค่าน้ำมันได้ด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิตทีทีบี ที่ไม่เพียงแค่รูดจ่ายได้สะดวกรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีโปรโมชันจากบัตรเครดิตที่คุ้มค่าได้มากขึ้น เมื่อเติมน้ำมันที่ปั๊มบางจากและปั๊มคาลเท็กซ์ รับเครดิตเงินคืนได้สูงสุดถึง 5%

3. ค่าเบี้ยประกันรถยนต์
ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ขับขี่รถจำเป็นต้องซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ก็จะสามารถเป็นหลักประกันความเสียหายในอนาคต ซึ่งประกันรถยนต์มีหลายราคา แบ่งตามความคุ้มครองที่ผู้ซื้อประกันจะได้รับ ก่อนจะตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัยควรสำรวจให้ดีว่าตนเองมีพฤติกรรมการใช้รถยนต์อย่างไร โดยแผนประกันภัยมีความแตกต่าง ดังนี้

- ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : คุ้มครองอุบัติเหตุทั้งเจ้าของรถและสภาพรถยนต์ ให้ความคุ้มครองมากกว่าประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะกับผู้ขับขี่มือใหม่หรือรถใหม่ป้ายแดง
- ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ 2 พลัส (2+) : ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองความเสียหายแค่ภายนอกของรถ และแผนประกันแบบชั้น 2+ จะเพิ่มความคุ้มครองรถยนต์ในกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เหมาะกับเจ้าของรถที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญการขับขี่
- ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 และ 3 พลัส (3+) : ไม่คุ้มครองสภาพรถยนต์ ประกันชั้น 3 จะชดเชยค่าเสียหายให้คู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้าซื้อประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะได้รับการดูแลรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถชนรถ เหมาะกับรถยนต์ที่ไม่ได้นำไปขับบ่อย

4. ค่าภาษีรถยนต์ และค่า พ.ร.บ.
รถยนต์มีค่าภาษีประจำปี กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ทุกปี หากไม่จ่ายภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับ เจ้าของรถต้องดำเนินเรื่องเพื่อขอทะเบียนใหม่ และโดนเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลัง ราคาค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์, ขนาดเครื่อง 601-1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท และขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

ส่วนค่าประกัน พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่รถทุกคันต้องทำ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมา ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองนั่นเอง และค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งอยู่ที่ 645.21 บาท

5. ค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์
แน่นอนว่าต้องมีรายจ่ายค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์ อะไหล่และอุปกรณ์ของรถยนต์จะเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมรถ ค่าเปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่ ค่าเปลี่ยนถ่ายของเหลวในรถยนต์ ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ก็จะตามมา แนะนำให้นำรถยนต์เข้าไปเช็กสภาพเป็นประจำ ไม่ว่าจะเดินทางไกลหรือใกล้ รถทุกคันที่ใช้งานควรได้รับการตรวจสภาพทุก ๆ 6 เดือนหรือ 1 ปีเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนคนอื่น

6. ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ
ค่าที่จอดรถ ค่าผ่านทางด่วน ค่าล้างรถ ค่าปรับกรณีฝ่าฝืนกฎจราจร ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เรียกว่าค่าใช้จ่ายแฝง เจ้าของรถบางคนอาจมีที่จอดรถฟรีในบ้าน แต่เมื่อขับออกมาก็ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่รอเรียกเก็บ ณ ปลายทางอยู่ดี ค่าใช้จ่ายแฝงแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ต้องจ่าย หลายอย่างขึ้นอยู่กับพฤติกรรมส่วนตัวของผู้ขับขี่ เช่น ค่าปรับที่ขับรถฝ่าไฟแดง แน่นอนว่าคนขับที่มีความประพฤติดีจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรือ ค่าล้างรถที่เจ้าของรถบางคันก็ล้างด้วยตัวเอง แต่บางรายก็ใช้บริการล้างรถตามจุดให้บริการต่าง ๆ

แม้ว่าการมีรถยนต์จะนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายมากมาย แต่สำหรับใครที่ “รถยนต์” คือสิ่งจำเป็นต้องใช้เดินทางทุกวัน และสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ ก็ไม่ต้องกังวล ส่วนคนที่ยังไม่พร้อมต้องคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ขยันเก็บออมให้มากขึ้น เพื่อรถในฝันจะได้ไม่ต้องเป็นภาระอันหนักอึ้งจนสั่นคลอนสถานะทางการเงิน

ค่าเบี้ยประกันรถยนต์
ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ถือเป็นอีกอย่างที่คนมีรถต้องเจอ เพราะเราไม่รู้ว่าการเดินทางครั้งไหนจะเกิดอุบัติเหตุ รถทุกคันควรมีกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อเป็นหลักประกันความเสียหายในอนาคต ประกันรถยนต์มีราคาหลากหลาย แบ่งตามความคุ้มครองที่ผู้ซื้อประกันจะได้รับ ก่อนเจ้าของรถจะตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสักฉบับ ควรสำรวจให้ดีว่าตนเองมีพฤติกรรมการใช้รถยนต์อย่างไร โดยแผนประกันภัยมีความแตกต่าง ดังนี้

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 : คุ้มครองอุบัติเหตุทั้งเจ้าของรถและสภาพรถยนต์ ให้ความคุ้มครองมากกว่าประกันภัยประเภทอื่น ๆ เหมาะกับผู้ขับขี่มือใหม่หรือรถใหม่ป้ายแดง
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ /2 : ประกันชั้น 2 จะคุ้มครองความเสียหายแค่ภายนอกของรถ และแผนประกันแบบชั้น 2+ จะเพิ่มความคุ้มครองรถยนต์ในกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเท่านั้น เหมาะกับเจ้าของรถที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญการขับขี่
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+ /3 : ไม่คุ้มครองสภาพรถยนต์ ประกันชั้น 3 จะชดเชยค่าเสียหายให้คู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้าซื้อประกันรถยนต์ชั้น 3+ จะได้รับการดูแลรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างรถชนรถ เหมาะกับรถยนต์ที่ไม่ได้นำไปขับบ่อยสักเท่าไร
สำหรับคนที่กำลังตัดสินใจออกรถคันแรก การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ช่วยให้ความคุ้มครองได้ครอบคลุมมากที่สุด อย่างเช่น ประกันรถยนต์มอเตอร์ 1 ไลท์ ที่เหมาะสำหรับอายุรถยนต์ตั้งแต่ 1-16 ปี และให้ความคุ้มครองทั้งกรณีที่เกิดความเสียหายต่อรถยนต์ สูญหาย ไฟไหม้ ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก และความคุ้มครองต่อผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร ประกันชั้น 1 จาก ทีทีบี ที่มีค่าเบี้ยราคาสบายกระเป๋า และเก็บค่าเสียหายส่วนแรกไม่เกิน 5,000 บาท รับประกันโดย บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน)

*ทั้งนี้ผู้ซื้อประกันภัยรถยนต์ ทีทีบี ควรศึกษารายละเอียดประกันภัย และควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ค่าภาษีรถยนต์และค่าพรบ.
รถยนต์มีค่าภาษีประจำปี กฎหมายกำหนดให้เจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ทุกปี หากไม่ปฏิบัติตามและไม่จ่ายภาษีรถยนต์ติดต่อกัน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับ เจ้าของรถต้องดำเนินเรื่องเพื่อขอทะเบียนใหม่ และโดนเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลัง ราคาค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีประจำปี สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง ขนาดเครื่อง 600 ซีซีแรก คำนวณซีซีละ 50 สตางค์ , ขนาดเครื่อง 601–1,800 ซีซี คำนวณซีซีละ 1.50 บาท และขนาดเครื่อง 1,801 ซีซีขึ้นไป คำนวณซีซีละ 4 บาท

ค่าประกัน พรบ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่รถทุกคันต้องทำ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมา ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองนั่นเอง และค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลที่นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่งอยู่ที่ 645.21 บาท

ค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์
แน่นอนว่าต้องมีรายจ่ายค่าดูแลรักษาสภาพรถยนต์ อะไหล่และอุปกรณ์ของรถยนต์จะเสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ค่าใช้จ่ายซ่อมแซมรถ ค่าเปลี่ยนอุปกรณ์อะไหล่ ค่าเปลี่ยนถ่ายของเหลวในรถยนต์ ทั้งน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันเกียร์ก็จะตามมา เราแนะนำให้นำรถยนต์เข้าไปเช็กสภาพเป็นประจำ ไม่ว่าจะเดินทางไกลหรือใกล้ รถของคุณต้องได้รับการตรวจสภาพทุก ๆ 6 เดือนหรือ 1 ปีเพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนคนอื่น

ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ
ค่าที่จอดรถ ค่าผ่านทางด่วน ค่าล้างรถ ค่าปรับกรณีฝ่าฝืนกฎจราจร ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เรียกว่าค่าใช้จ่ายแฝง เจ้าของรถบางคนอาจมีที่จอดรถฟรีในบ้าน แต่เมื่อขับออกมาก็ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่รอเรียกเก็บ ณ ปลายทางของคุณอยู่ดี ค่าใช้จ่ายแฝงแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ และไม่ใช่ทุกคนที่ต้องจ่าย หลายอย่างขึ้นอยู่กับพฤติกรรมส่วนตัวของผู้ขับขี่ เช่น ค่าปรับที่ขับรถฝ่าไฟแดง แน่นอนว่าคนขับที่มีความประพฤติดีจะไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หรือ ค่าล้างรถที่เจ้าของรถบางคันก็ล้างด้วยตัวเอง แต่บางรายก็ใช้บริการล้างรถตามจุดให้บริการต่าง ๆ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง