ผิดกฎหมายหรือไม่? ถ้าจอดรถเกะกะหน้าบ้านคนอื่น
ผิดกฎหมายหรือไม่? ถ้าจอดรถเกะกะหน้าบ้านคนอื่น

ปัญหาโลกแตกของคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะหมู่บ้านเล็กหรือหมู่บ้านใหญ่ หลักๆ ก็มีอยู่แค่ไม่กี่อย่าง อาทิ ต้นไม้ยื่นล้ำ เศษใบไม้ร่วง เรื่องหมา แมว เรื่องเสียงดัง หรือจะเป็นเรื่องยอดฮิตอย่าง "จอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น"

ผิดกฎหมายหรือไม่? ถ้าจอดรถเกะกะหน้าบ้านคนอื่น

โดยในปัจจุบัน กฎหมายถนนในหมู่บ้านระบุว่าต้องมีขนาดถนนไม่ต่ำกว่า 9 เมตร แต่ปัญหาของหมู่บ้านยุคเก่า ถนนในหมู่บ้านยังมีขนาดเล็กกว่าที่กฎหมายกำหนดในยุคปัจจุบัน 

เมื่อบางบ้านมีรถหลายคัน มีรถเยอะจนไม่มีที่จอด ต้องไปจอดขวางบ้านคนอื่น จนบางบ้านต้องหาวิธีการตั้งของกีดขวาง ตั้งเก้าอี้ หรือกระถางต้นไม้กันที่ หรือจอดรถไว้จนรถสวนลำบากก็มี ทำให้มีปัญหาทะเลาะวิวาทตามมากันให้เห็นอยู่เรื่อยในสังคมโซเชียลมีเดีย

ผิดกฎหมายหรือไม่? ถ้าจอดรถเกะกะหน้าบ้านคนอื่น

ตามจริงแล้ว กฎหมายไทยได้กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจอดรถไว้ชัดเจน ว่าผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิ์จอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านผู้อื่น ไม่ว่าพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นที่เอกชนหรือทางสาธารณะก็ตาม 

ผิดกฎหมายหรือไม่? ถ้าจอดรถเกะกะหน้าบ้านคนอื่น

โดย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 55 (6) บัญญัติไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ

(1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
(2) บนทางเท้า
(3) บนสะพานหรือในอุโมงค์
(4) ในทางร่วมทางแยก
(5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
(6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
(7) ในเขตปลอดภัย

ผิดกฎหมายหรือไม่? ถ้าจอดรถเกะกะหน้าบ้านคนอื่น

ทั้งนี้ การจอดรถกีดขวางหน้าบ้านผู้อื่น ยังถือเป็นความผิดฐานก่อความเดือดร้อนแก่ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 397 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยเจ้าของบ้านที่ถูกรถจอดขวาง สามารถแจ้งความเอาผิดได้

ผิดกฎหมายหรือไม่? ถ้าจอดรถเกะกะหน้าบ้านคนอื่น

ส่วนที่บางบ้านตั้งเก้าอี้ หรือตั้งกระถางต้นไม้กันพื้นที่ถนนหน้าบ้านไว้นั้น กรณีพื้นที่ถนนหมู่บ้านที่ยกให้เป็นพื้นที่สาธารณะแล้ว ก็อาจมีความผิดจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้ ที่ระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร แต่เจ้าพนักงานจราจรจะอนุญาตได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอันจำเป็นและเป็นการชั่วคราวเท่านั้น" มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 500 บาท

ทางที่ดี ถ้าจะจอดรถไว้ตรงไหน ก็ควรดูด้วยว่าเพื่อนบ้านเขา OK หรือไม่ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ต้องมีเรื่องทะเลาะกัน อาจถึงขั้นผิดกฏหมาย ทั้งจำทั้งปรับเลยครับ

ภาพประกอบจาก
- Facebook

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง