การทางพิเศษฯ ทุ่ม 3.4 หมื่นล้าน! สร้างทางด่วน 2 ชั้น แก้รถติด "งามวงศ์วาน-พระราม 9"
การทางพิเศษฯ ทุ่ม 3.4 หมื่นล้าน! สร้างทางด่วน 2 ชั้น แก้รถติด "งามวงศ์วาน-พระราม 9"

นับตั้งแต่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย มีโครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 หรือ Double Deck ช่วงงามวงศ์วาน-พระราม 9 ซึ่งได้รับประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 ไปแล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยระบุว่า โครงการนี้ถือเป็นโครงการลงทุนตามแผนของ กทพ. คาดว่าใช้เงินลงทุนราว 34,028 ล้านบาท 

การทางพิเศษฯ ทุ่ม 3.4 หมื่นล้าน! สร้างทางด่วน 2 ชั้น แก้รถติด "งามวงศ์วาน-พระราม 9"

ปัจจุบัน กทพ. อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่า EIA จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปี 2567 

เป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้รับการร้องเรียนจากประชาชนจำนวนมาก ว่าการจราจรติดขัดสาหัส โดยเฉพาะบริเวณช่วงทางแยกต่างระดับพญาไท ที่ด้านเหนือไปประชาชื่น และด้านใต้ไปบางโคล่

การทางพิเศษฯ ทุ่ม 3.4 หมื่นล้าน! สร้างทางด่วน 2 ชั้น แก้รถติด "งามวงศ์วาน-พระราม 9"

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา กทพ. ได้แก้ไขปัญหาด้วยการจัดจราจรเพื่ออำนวยความสะดวกในช่วงการจราจรคับคั่ง แต่เนื่องจากพื้นที่ทางพิเศษส่วนนี้ มีปัญหาหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความจุทางด่วนไม่เพียงพอ จุดตัดกระแสจราจรบริเวณทางร่วม และทางแยก การจราจรติดขัดบริเวณทางลงทางด่วน การไหลเวียนจราจรบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง และคอขวดทางกายภาพบนทางด่วน

ดังนั้นการจัดจราจรเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ต้องแก้ไขปัญหาทางกายภาพ ขยายพื้นที่จราจรซึ่งแนวทางที่ดำเนินการได้ คือ การก่อสร้างทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 เพื่อแยกเส้นทางรถให้ด้านเหนือที่จะไปประชาชื่น ขึ้นไปใช้ทางด่วนชั้นที่ 2 ส่วนด้านใต้ที่จะไปบางโคล่ ให้ใช้ทางด่วนเดิมด้านล่าง เพื่อไม่ให้กระแสการจราจรตัดกัน

การทางพิเศษฯ ทุ่ม 3.4 หมื่นล้าน! สร้างทางด่วน 2 ชั้น แก้รถติด "งามวงศ์วาน-พระราม 9"

สำหรับแนวเส้นทางของโครงการจะเริ่มต้นที่บริเวณทางแยกต่างระดับงามวงศ์วาน เป็นทางยกระดับซ้อนทับไปตามแนวสายทางของทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) มุ่งทิศใต้ เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออกบริเวณทางแยกต่างระดับพญาไท ผ่านทางแยกต่างระดับมักกะสัน และสิ้นสุดบริเวณหลังด่านเก็บค่าผ่านทางอโศก 4 ของทางด่วนศรีรัช รวมระยะทาง 17 กิโลเมตร มีขนาด 4 ช่องจราจร (2 ช่องจราจรต่อทิศทาง)

การทางพิเศษฯ ทุ่ม 3.4 หมื่นล้าน! สร้างทางด่วน 2 ชั้น แก้รถติด "งามวงศ์วาน-พระราม 9"

โดยโครงการมีด่านเก็บค่าผ่านทาง 2 แห่ง ได้แก่

- ด่านประชาชนชื่น (ชั้นที่ 2)
- ด่านมักกะสัน

มีทางขึ้น-ลง 4 ตำแหน่ง ได้แก่

- ทางขึ้น-ลง จุดเริ่มต้นโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับงามวงศ์วาน
- ทางขึ้นลงบริเวณย่านพหลโยธิน
- ทางขึ้น-ลงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณโรงพยาบาลพระราม 9
- ทางลงบริเวณทางแยกต่างระดับมักกะสัน

การทางพิเศษฯ ทุ่ม 3.4 หมื่นล้าน! สร้างทางด่วน 2 ชั้น แก้รถติด "งามวงศ์วาน-พระราม 9"

โดยโครงการจะครอบคลุมพื้นที่ศึกษา ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี 1 อำเภอ คือ อ.เมืองนนทบุรี และกรุงเทพฯ 7 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ, จตุจักร, พญาไท, ดุสิต, ราชเทวี, ดินแดง และห้วยขวาง

โดยระหว่างนี้ กทพ. จะเปิดรับฟังของประชาชน ครั้งที่ 3 เพื่อสรุปโครงการฯ ภายในกลางเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากนั้นจะสรุปรูปแบบการลงทุนแล้วเสร็จภายในปลายปี 2566 คาดว่าใช้รูปแบบการลงทุนในการเจรจากับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 และเก็บค่าผ่านทาง

การทางพิเศษฯ ทุ่ม 3.4 หมื่นล้าน! สร้างทางด่วน 2 ชั้น แก้รถติด "งามวงศ์วาน-พระราม 9"

หากได้ข้อสรุปให้เอกชนรายเดิมหรือ BEM เป็นผู้ดำเนินการ จะต้องเสนอคณะกำกับสัญญาฯ ตามมาตรา 43 พิจารณา ก่อนเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในต้นปี 2567 คาดว่าจะใช้รูปแบบการลงทุน PPP โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนโครงการ 100% และดำเนินการก่อสร้างภายในปลายปี 2567 ระยะเวลาก่อสร้าง 4-5 ปี และเปิดให้บริการปี 2572 

ทั้งนี้หากเป็นการเปิดประมูลหาเอกชนรายใหม่โดยผู้รับสัมปทานรายเดิมไม่ขัดข้อง ตามกระบวนการจะเสนอต่อกระทรวงคมนาคมและคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในกลางปี 2567 ซึ่งจะต้องหารือในหลายๆเรื่อง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการเปิดประมูลและเริ่มก่อสร้างภายในปี 2568 ระยะเวลาก่อสร้าง 4-5 ปี และเปิดให้บริการปี 2573

แหล่งที่มาบางส่วนจาก
- เปิดแผน ‘ด่วนชั้นที่ 2’ สายแรกในไทย แก้รถติดงามวงศ์วาน – พระราม 9
- กทพ. ถก BEM สร้างทางด่วน 2 ชั้น งามวงศ์วาน-พระราม 9

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง