ผู้ประกอบการตลาดรถยนต์มือสองทรุดต่อเนื่อง ราคาตกต่ำ หวั่นพิษทรัมป์ ส่งผลรุนแรง
ผู้ประกอบการตลาดรถยนต์มือสองทรุดต่อเนื่อง ราคาตกต่ำ หวั่นพิษทรัมป์ ส่งผลรุนแรง

ผู้ประกอบการตลาดรถยนต์มือสองทรุดต่อเนื่อง ราคาตกต่ำ หวั่นพิษทรัมป์ ส่งผลรุนแรง

สมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว ได้จัดงานแถลงข่าว ในหัวข้อ "เจาะลึกธุรกิจรถยนต์ใช้แล้ว รวมพลังสาววิกฤติ เพื่อให้ข้อมูล" เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม และทิศทางของตลาดรถยนต์มือสองในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า โดยนายวิสุทธิ์ เหมพรรณไพเราะ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว กล่าวว่า ธุรกิจรถยนต์ใช้แล้วกำลังเผชิญจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ

ทั้งจากปัจจัยเศรษฐกิจ ราคาสินค้า และพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันจำนวนรถยนต์ที่เข้าสู่ตลาดรถมือสองลดลงอย่างต่อเนื่อง จากในปี 2567 มีจำนวน 300,000 คัน แต่ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้พบว่า มีรถเข้าสู่ตลาดมืองสองเพียง 92,293 คัน ทำให้คาดว่ารถยนต์ที่จะเข้าสู่ตลาดมือสองในปีนี้นั้นจะลดลงถึง 28-30% 

ขณะที่ยอดปล่อยสินเชื่อของรถยนต์ใช้แล้ว ตลอดสามปี พบว่าลดลงอย่างต่อเนื่องและลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยในปี 2566 ยอดปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 122,000 ล้านบาท ปี 2567 ยอดปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 92,000 ล้านบาท หรือลดลง 25% ส่วนในปีนี้ (2568) มองว่าเป็นปีที่มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะลดลงเพิ่มเติม 10% ซึ่งใน 5 เดือนแรกที่ผ่านมาพบว่ามีการปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 83,000 ล้านบาท 

แต่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2568 ลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละ 18,458 คัน หรือหดตัวลงกว่าร้อยละ 28 ด้านยอดขายรถยนต์ใช้แล้วในปี 2566 อยู่ที่ 406,000 คัน ลดลงในปี 2567 เหลือ 316,000 คัน และคาดว่าปี 2568 จะลดลงอีกเหลือ 285,000 คัน หรือลดลงร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงการถดถอยของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ

สาเหตุหลักมาจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว ซึ่งลดลงต่อเนื่องจากปี 2566 ถึง 2567 กว่าร้อยละ 25 และในปี 2568 ยังลดลงต่อเนื่องอีกร้อยละ 10 สอดคล้องกับยอดขายที่ลดลง สาเหตุอื่นรวมถึงการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปสู่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงในตลาดรถยนต์มือหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคารถยนต์ใช้แล้ว นายวิสุทธิ์ระบุว่า การแก้ปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการ รัฐบาล และสถาบันการเงิน เพื่อกำหนดทิศทางการฟื้นฟูอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ยั่งยืน

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งเคยเป็นผู้นำในภูมิภาค กำลังเผชิญภาวะชะลอตัว จึงต้องปรับโครงสร้างทั้งระบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยกระทรวงการคลังกำลังปรับปรุงโครงสร้างภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) ทั้งในรถยนต์สันดาปและรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ได้อัตราภาษีที่ต่ำลง สร้างความได้เปรียบในตลาด

สำหรับการฟื้นฟูตลาดรถยนต์ใช้แล้ว นายเผ่าภูมิเน้นว่า ความเชื่อมั่นเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะการรับประกันคุณภาพรถผ่านการจัดเกรดโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคและสถาบันการเงิน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น มาตรการเหล่านี้คาดว่าจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นและขับเคลื่อนตลาดรถยนต์ใช้แล้วให้กลับมาคึกคัก

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง