รถไฟ EV มิติใหม่รถไฟไทย ประหยัดกว่ารถจักรดีเซล 40-60%
รถไฟ EV มิติใหม่รถไฟไทย ประหยัดกว่ารถจักรดีเซล 40-60%

ในโลกของการเดินทาง การขนส่ง พลังงานไฟฟ้านับได้ว่าเข้ามามีบทบาทอย่างมากในทุกๆ ด้าน ไม่เว้นแม้แต่การเดินทางที่ขนคนได้มากๆ อย่าง "รถไฟ" ทุกวันนี้เราก็มี "รถไฟฟ้า" หรือ หัวรถจักรไฟฟ้า ที่ใช้พลังงาน EV แบบเพียวๆ แล้วเช่นกัน

รถไฟ EV มิติใหม่รถไฟไทย ประหยัดกว่ารถจักรดีเซล 40-60%

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมใช้ “รถไฟ EV” หัวรถจักรขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยประกอบและติดตั้งระบบแบตเตอรี่สำหรับรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเสร็จเมื่อปี 2565 ถือเป็นแห่งแรกของโลก ประหยัดต้นทุนพลังงาน 40 - 60% เมื่อเทียบกับหัวรถจักรดีเซล

รถไฟ EV มิติใหม่รถไฟไทย ประหยัดกว่ารถจักรดีเซล 40-60%

สำหรับรถไฟ EV ที่ รฟท. ใช้งานในเวลานี้ เป็นรถจักร EV ที่ผลิตโดยบริษัท CRRC Dalian ผู้ผลิตรถไฟรายใหญ่จากประเทศจีน ที่จัดส่งมาจากท่าเรือมหานครเทียนจิน มายังประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ตัวรถมีขนาดแบตเตอรี่ขนาด 4.1 MWh ผสานเทคโนโลยีการอัดประจุ Ultra-Fast Charge ของ EA Anywhere ใช้เวลาชาร์จเพียง 1 ชั่วโมง

รถไฟ EV มิติใหม่รถไฟไทย ประหยัดกว่ารถจักรดีเซล 40-60%

สามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่ 120 กม./ชม. หากลากตู้สินค้าจะใช้ความเร็วประมาณ 70 กม./ชม. และหากลากตู้โดยสารจะใช้ความเร็วประมาณ 100 กม./ชม.

อีกทั้งยังมีสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ Battery Swapping Station โดยใช้เวลาสลับเปลี่ยนไม่เกิน 10 นาที โดยหัวรถไฟ EV สามารถวิ่งได้ระยะ 150-200 กิโลเมตร เมื่อชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง

รถไฟ EV มิติใหม่รถไฟไทย ประหยัดกว่ารถจักรดีเซล 40-60%

โดยเบื้องต้นติดตั้งจุดชาร์จบริเวณย่านบางซื่อ และจะขยายไปยังสถานีอื่นเพิ่ม รองรับการใช้หัวรถจักรพลังงานไฟฟ้ากับขบวนรถโดยสาร ลดมลพิษทางอากาศ สร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ในระยะแรกการรถไฟฯ จะนำรถจักรดังกล่าวมาใช้ลากเป็นบริการรถสับเปลี่ยน (Shunting) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เพื่อลดมลพิษในอาคารสถานีชั้นที่ 2 จากขบวนรถโดยสารทางไกล ที่ยังเป็นรถไฟดีเซล ซึ่งจากผลการทดสอบ ของ รฟท. สามารถลากขบวนรถจากย่านสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ไปที่ชานชาลาสถานีที่ชั้น 2 ได้จำนวน 12 เที่ยว ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ระยะเวลาการชาร์จจนแบตเตอรี่เต็มประมาณ 1 ชั่วโมง

รถไฟ EV มิติใหม่รถไฟไทย ประหยัดกว่ารถจักรดีเซล 40-60%

จากนั้นในระยะต่อไป จะทดลองวิ่งในระยะทางใกล้ เช่น ขบวนรถโดยสารชานเมือง ระยะทางประมาณ 30 - 50 กิโลเมตร และระยะทางที่ไกลมากขึ้น เช่น ขบวนรถข้ามจังหวัด ระยะทางประมาณ 100 - 200 กิโลเมตร และขบวนรถขนส่งสินค้า จาก ICD ลาดกระบัง ไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และยังอยู่ระหว่างการจัดหา 50 คัน เพื่อทยอยให้บริการประชาชนภายในปี 2566 นี้

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง