รู้จัก! "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี โมโนเรลสายที่สองของไทย เปิดให้คนไทยขึ้นฟรี พ.ย. นี้
รู้จัก! "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี โมโนเรลสายที่สองของไทย เปิดให้คนไทยขึ้นฟรี พ.ย. นี้

ในที่สุด "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ก็เปิดให้คนกรุงเทพฯ และนนทบุรี ได้ทดลองใช้บริการฟรีกันแล้วในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป และจะเริ่มเก็บค่าโดยสารในวันที่ 3 มกราคม 2567 เป็นต้นไป! 

รู้จัก! "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี โมโนเรลสายที่สองของไทย เตรียมเปิดให้ขึ้นฟรี พ.ย. นี้

สำหรับอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท ซึ่งมีราคาค่าโดยสารเท่ากันกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู หรือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (MRT Pink Line) ช่วงแคราย - มีนบุรี เป็นโครงการรถไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และนนทบุรี ออกแบบมาเป็นระบบขนส่งมวลชนระบบรอง (Feeder Line) มีระยะทางให้บริการ 34.5 กิโลเมตร

ดำเนินการโดย บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (Northern Bangkok Monorail - NBM) (เป็นบริษัทร่วมทุนโดยกิจการร่วมค้า BSR มี BTS เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กับ ซิโน-ไทย และ ราช กรุ๊ป) ได้รับสัมปทานตั้งแต่การก่อสร้างจนถึงการเดินรถจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

รู้จัก! "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี โมโนเรลสายที่สองของไทย เปิดให้คนไทยขึ้นฟรี พ.ย. นี้

การเดินรถไฟฟ้าเป็นแบบยกระดับรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เริ่มต้นที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เป็นสถานีเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม จากนั้นไปตามถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนสีหบุรานุกิจ จนถึงตลาดมีนบุรี แล้วเส้นทางจะเบี่ยงขวาลงไปหาถนนรามคำแหง สิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รวมระยะทาง 36 กิโลเมตร

และอีกสายหนึ่งจะวิ่งย้อนกลับขึ้นไปทางปากเกร็ดก่อนเข้าสู่ ซ.แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 หรือซอยเข้าศูนย์การประชุมอิมแพค เพื่อเข้าสู่ใจกลางเมืองทองธานี อันเป็นที่ตั้งของศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร

รู้จัก! "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี โมโนเรลสายที่สองของไทย เตรียมเปิดให้ขึ้นฟรี พ.ย. นี้

ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 30 แห่ง (พร้อมรหัสสถานี) ได้แก่ 

- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี PK01 เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง)
- สถานีแคราย PK02    
- สถานีสนามบินน้ำ PK03
- สถานีสามัคคี PK04
- สถานีกรมชลประทาน PK05
- สถานีแยกปากเกร็ด PK06
- สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด PK07    
- สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 PK08
- สถานีศรีรัช PK09
- สถานีเมืองทองธานี PK10
- สถานีแจ้งวัฒนะ 14 PK11    
- สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ PK12
- สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ PK13
- สถานีหลักสี่ PK14 เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
- สถานีราชภัฏพระนคร PK15    
- สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ PK16 เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
- สถานีรามอินทรา 3 PK17    
- สถานีลาดปลาเค้า PK18
- สถานีรามอินทรา กม. 4 PK19
- สถานีมัยลาภ PK20
- สถานีวัชรพล PK21
- สถานีรามอินทรา กม. 6 PK22    
- สถานีคู้บอน PK23
- สถานีรามอินทรา กม. 9 PK24
- สถานีวงแหวนรามอินทรา PK25
- สถานีนพรัตน์ PK26
- สถานีบางชัน PK27
- สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ PK28
- สถานีตลาดมีนบุรี PK29
- สถานีมีนบุรี PK30 เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

เส้นทางแยก เมืองทองธานี-อิมแพ็ค

- สถานีเมืองทองธานี PK10
- สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี MT01    
- สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี MT02

รู้จัก! "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี โมโนเรลสายที่สองของไทย เปิดให้คนไทยขึ้นฟรี พ.ย. นี้

สำหรับตัวสถานีมีความยาว 150 เมตร รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้สูงสุด 7 ตู้ ต่อหนึ่งขบวน ใช้รูปแบบชานชาลาด้านข้างทั้งหมด มีประตูกั้นชานชาลาความสูง Half-Height ทุกสถานี 

มีโรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถตั้งอยู่บริเวณ ถ.ร่มเกล้า ใกล้กับแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ในพื้นที่เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ พร้อมอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ที่สถานีปลายทาง (มีนบุรี) ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม จอดรถได้สูงสุด 3,000 คัน

รู้จัก! "รถไฟฟ้าสายสีชมพู" ช่วงแคราย-มีนบุรี โมโนเรลสายที่สองของไทย เปิดให้คนไทยขึ้นฟรี พ.ย. นี้

สำหรับตัวรถไฟฟ้า ใช้รถไฟฟ้าโมโนเรลรุ่น Innovia Monorail 300 (อินโนเวีย โมโนเรล 300) จาก Alstom (อัลสตอม) (หรือ Bombadier เดิม) ผลิตโดย CRRC Puzhen Alstom Transportation System (CRRC-PATS) ในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน แบบเดียวกับที่ใช้ในรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ขนาดกว้าง 3,147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูง 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) จุผู้โดยสารสูงสุด 356 คนต่อตู้ (คำนวณอัตราความหนา 4 คน/ตร.ม.) มีทั้งหมด 30 ขบวน 120 ตู้ 

รับไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ จากรางที่ 3 ที่ติดตั้งด้านข้างคานรองรับทางวิ่งเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ ตัวยางล้อใช้ยางรุ่น X Metro จาก Michelin สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15,000 คน/ชม. ต่อทิศทาง 

ในอนาคตสามารถเพิ่มจำนวนตู้โดยสารเป็น 7 ตู้ต่อขบวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 28,000 คน/ชม. ต่อทิศทาง ขบวนรถสามารถขับเคลื่อนจากจุดจอดแต่ละสถานีได้เองโดยไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือสั่งการ

แหล่งที่มาข้อมูลและภาพจาก 
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
- โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง