แรงงานผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ หวังขอเพิ่มค่าแรง 20% และลดวันทำงาน
แรงงานผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ หวังขอเพิ่มค่าแรง 20% และลดวันทำงาน

สหภาพแรงงานรถยนต์ของสหรัฐฯ หรือ UAW (United Auto Workers) และบริษัท Stellantis กลับมานั่งโต๊ะเจรจากันอีกครั้งในวันจันทร์ ระหว่างที่แรงงานจากบริษัทผู้ผลิตยานยนต์จากดีทรอยต์ 3 แห่ง ผละงานประท้วงต่อเนื่องเป็นวันที่ 4

แรงงานผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ หวังขอเพิ่มค่าแรง 20% และลดวันทำงาน

ภาพจาก AP

ตัวแทนสหภาพแรงงาน และตัวแทนค่ายรถยนต์รายใหญ่ 3 แห่งของสหรัฐฯ หรือที่รู้จักกันในนาม "Big Three" ได้แก่ General Motors (GM - จีเอ็ม), Ford (ฟอร์ด) และ Stellantis (สเตแลนทิส) ได้คุยกันตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ ในการยุติการประท้วงครั้งใหญ่รอบหลายสิบปีของแรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์อเมริกัน

แรงงานผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ หวังขอเพิ่มค่าแรง 20% และลดวันทำงาน

เงื่อนไขของแรงงานในการประท้วงครั้งนี้ คือ การขอขึ้นค่าแรง 20% ในระยะเวลา 4 ปีครึ่ง ซึ่งน้อยกว่าเงื่อนไขที่เคยเสนอไปจนถึงช่วงปี 2027 อีกทั้งยังเรียกร้องให้ลดจำนวนวันในการทำงานต่อสัปดาห์ ฟื้นฟูระบบบำนาญ และเพิ่มความมั่นคงของตำแหน่งงาน ในช่วงผู้ผลิตรถยนต์ปรับเปลี่ยนไปพัฒนารถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า

ประธานสหภาพแรงงานรถยนต์ของสหรัฐฯ Shawn Fain (ชอว์น เฟน) เปิดเผยกับ NPR ในวันจันทร์ว่า มีการพูดคุยกันเล็กน้อยเมื่อสุดสัปดาห์ และหนทางยังอีกยาวไกล ส่วนเรื่องการประท้วงว่าจะยืดเยื้อหรือขยายออกไปที่โรงงานอื่นหรือไม่นั้น เฟน กล่าวเพียงว่า สหภาพพร้อมที่จะทำหากจำเป็น

แรงงานผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ หวังขอเพิ่มค่าแรง 20% และลดวันทำงาน

การประท้วงครั้งนี้ มีแรงงานที่อยู่ในสหภาพแรงงานฯ ราว 12,700 คนเข้าร่วม และเป็นการรวมตัวเดินขบวนของแรงงาน 3 ค่ายรถใหญ่ของอเมริกาเป็นครั้งแรก สะท้อนถึงช่วงเวลาที่สหภาพแรงงานทั่วอเมริกาได้รับการยอมรับในระดับสูงจากเหล่าสมาชิก ในการเป็นตัวแทนผลักดันเรื่องค่าแรงและสวัสดิการต่างๆ ของพวกเขามากขึ้น

แรงงานผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ หวังขอเพิ่มค่าแรง 20% และลดวันทำงาน

และการประท้วงครั้งนี้ ยังส่งผลกระทบให้มีการระงับการผลิตที่รถยนต์ที่โรงงานในรัฐมิชิแกน โอไฮโอ และมิสซูรี ซึ่งผลิตรถยนต์ Ford Bronco, Jeep Wrangler และ Chevrolet Colorado และรถยนต์รุ่นยอดนิยมอื่นๆ ด้วย

นักวิเคราะห์ต่างให้ความเห็นว่า ผู้บริหารอุตสาหกรรมยานยนต์ ต่างตั้งคำถามว่าอีกนานแค่ไหน ถึงจะมีการประท้วงรอบใหม่เพื่อสร้างแรงกดดันกับบริษัทยานยนต์รายอื่นๆ

แรงงานผลิตรถยนต์ในสหรัฐฯ ชุมนุมประท้วงยืดเยื้อ หวังขอเพิ่มค่าแรง 20% และลดวันทำงาน

ด้าน Janet Yellen (แจเน็ต เยลเลน) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประเมินผลกระทบของการประท้วงต่อเศรษฐกิจอเมริกัน แต่หวังว่าการเจรจาระหว่างสหภาพและบริษัทรถยนต์จะได้ข้อสรุปในเร็ววัน

แหล่งที่มาจาก 
- VOA Thai
- Reuters
- ภาพหน้าปกจาก The New York Times

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง